ด.ญ.ชนัฏฐา เรือนเงิน เลขที่ 18 ชั้นม.2/2 โรงเรียนถาวรานุกูล

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

1. วิธีการใช้งานจากเว็บไซต์  http://www.thaigoodview.com/node/92343  
วิธีการตัดต่อวิดีโอ

Ulead Video Studio 11

Ulead Video Studio 11 เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่มีการใช้งานไม่ยากจนเกินไป แม้ผู้ที่เริ่มใช้งานก็
สามารถที่จะสร้างวีดีโอได้เหมือนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตัดต่อวีดีโอมานาน โปรแกรมนี้มีเครื่องมือต่างๆ สำหรับตัดต่อวีดีโออย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่จับภาพจากกล้องเข้าคอมพิวเตอร์ ตัดต่อวีดีโอ ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ แทรกดนตรี ประกอบ แทรกคำบรรยาย ไปจนถึงบันทึกวีดีโอที่ตัดต่อกลับลงเทป, VCD, DVD หรือแม้กระทั่งเผยแพร่ผลงานทางเว็บ
VideoStudio Editor โหมดนี้ให้คุณได้ใช้คุณลักษณะการตัดต่อวีดีโอของ Ulead ได้อย่างเต็มที่ เรียกได้ว่ามี Step Panel ส่วนนี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอน หรือข้าม ขั้นตอนใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวีดีโอของคุณเอง ขั้นตอนตัดต่อคือ
เครื่องมือครบทุกอย่างในการสร้างแผ่น VCD/DVD จากกล้องวีดีโอดิจิตอล เริ่มตั้งแต่ จับภาพ/เพิ่มคลิป
วีดีโอ ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ ใส่ตัวหนังสือ ทำภาพซ้อน ใส่คำบรรยาย ดนตรีประกอบ ไปจนถึงเขียนวีดีโอลงบน
แผ่น CD/DVD หรือนำไฟล์ไปเผยแพร่บนเว็บ
Tip : หากคลิกที่ปุ่ม 16:9 จะเป็นการสร้างโครงการของคุณเป็นแบบ widescreen
ในที่นี้จะสอนเฉพาะการใช้งานแบบ VideoStudio Editor เท่านั้น เมื่อเลือกรายการ VideoStudio Editor แล้ว
ก็สามารถสลับไปยังรายการอื่นๆ ได้โดยเลือกรายการจากเมนู Tools

ส่วนติดต่อกับผู้ใช้

1. Step Panel
กลุ่มของปุ่มที่ใช้สลับไปมาในขั้นตอนต่างๆ ของการตัดต่อวีดีโอ เช่น ต้องการจับภาพจากกล้องวีดีโอก็
คลิกปุ่ม Capture หากต้องการแก้ไข/ตัดต่อวีดีโอ คลิกปุ่ม Edit ต้องการใส่ข้อความในวีดีโอ คลิกปุ่ม Title
เป็นต้น
2. Menu Bar
แถบเมนูของชุดคำสั่งต่างๆ เช่น สร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการ บันทึกโครงการ เป็นต้น
3. Options Panel
ส่วนนี้จะมี ปุ่มและข้อมูลอื่นๆ ที่ให้คุณได้ปรับแต่งคลิปที่คุณเลือกไว้ ฟังชั่นก์ต่างๆ ในส่วนนี้จะเปลี่ยนไป
ตามขั้นตอนที่คุณกำลังทำงานอยู่ เช่น คุณเลือกคลิปวีดีโอ ก็จะมีฟังก์ชั่นต่างๆ สำหรับจัดการกับคลิปวีดีโอ หรือคุณเลือกเสียง ก็จะมีฟังก์ชั่นสำหรับการจัดการเรื่องเสียง เป็นต้น
4. Preview Window
หน้าต่างแสดงคลิปปัจจุบัน, ตัวกรองวีดีโอ, เอฟเฟ็กต์, หรือตัวหนังสือ ต้องการดูผลลัพธ์ของการตัดต่อ
ต่างๆ สามารถดูได้ในหน้าต่างนี้
5. Navigation Panel
มีปุ่มสำหรับเล่นคลิปวีดีโอและสำหรับตัดวีดีโอ ในขั้นตอนการจับภาพ, ส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์
ควบคุมกล้องวีดีโอ เช่น เล่นวีดีโอ หยุด หยุดชั่วขณะ กรอไปข้างหน้า กรอกลับ เป็นต้น
6. Library
เก็บและรวบรวมทุกอย่างไว้ ไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ, เสียง, ภาพนิ่ง, เอฟเฟ็กต์ต่างๆ เป็นต้น ทำให้สะดวกใน
การเรียกใช้งาน
7. Timeline
แสดงคลิป, ตัวหนังสือและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่อยู่ในโครงการ
1. Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)
2. Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)
3. Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)
4. Overlay (ทำภาพซ้อน)
5. Title (ใส่ตัวหนังสือ)
6. Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)
7. Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)
ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้ เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ ตัวหนังสือภายหลังก็ได้ หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้อง ทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อวีดีโออย่างไร และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ

ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ

          เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้ คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอล เป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้ วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์ เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอนการจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้ว ยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้อีกด้วย
         ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้ Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ในขั้นตอนนี้ หรือแทรก คลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่น หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ใน เครื่อง เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ ก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น จับภาพวีดีโอมาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วน ก็สามารถตัดแยก scene วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการออก ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออก และการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น การใส่ตัวฟิลเตอร์ฝนตกในคลิปวีดีโอ ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ ) ก็ สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน
         ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition) ระหว่างคลิปวีดีโอใน project ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ ให้เลือกอย่างมากมายใน Library
         ทรานสิชั่น เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากที่ค่อยๆ จางหายไป จนมืด แล้วก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือ ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกันของทั้งสองฉาก เป็นต้น นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง
         ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่ เหมือนกับที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคล เกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่
        ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำ ถ่าย เมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ หรือจะวิ่งจากด้านขวามือมาซ้ายมือ หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้
         ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น CD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ทำดนตรี ประกอบได้ บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับในบางช่วง ขณะที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียงของดนตรี ประกอบ เป็นต้น
         ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานสามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD

Menu Bar

แถบเมนูนี้ เป็นที่รวมของคำสั่งต่างๆ มากมาย

File menu

2. วิธีการใช้งานจากเว็บไซต์    http://www.thaithesims3.com/topic.php?topic=43875  
วิธีการตัดต่อวิดีโอ



ในที่นี้ จะใช้ UleadVideoStudio 11.0 เป็นตัวอย่าง



เมื่อติดตั้งตัวโปรแกรมแล้ว ก็เปิดการใช้งาน



เลือกที่ VideoStudio Editor เพื่อสร้างไฟล์วีดีโอ



หน้าตาของตัวโปรแกรมในขณะใช้งาน




ตรงส่วนนี้จะมีให้เลือกหน้าตาในการปรับแต่งไฟล์วีดีโอ






จากนั้นให้ Right Click ที่ช่องแนบไฟล์ เพื่อเลือกไฟล์ภาพ หรือวีดีโอ




เลือกไฟล์ที่ต้องการใส่ในวีดีโอ สามารถลากเมาส์เพื่อเลือกทีละมากกว่าหนึ่งไฟล์ จากนั้นกด Open





หากต้องการใส่เพลงให้กับวีดีโอ ก็ให้ Right Click แล้วเลือกแนบไฟล์ Audio





เลือกเพลงที่ต้องการ แล้วกด Open



ก็จะได้เช่นนี้




พึงจดจำ หมั่นเซฟไฟล์โปรเจคเป็นระยะๆ เพื่อว่าหากมีข้อขัดข้อง โปรแกรมไม่ทำงาน เรายังสามารถเรียกงานเดิมกลับมาทำใหม่ได้ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ !




ไฟล์ที่ได้มา จะเป็นนามสกุล .VSP เป็นไฟล์โปรเจคของโปรแกรม Ulead




นอกจากไฟล์ภาพแล้ว ยังสามารถแนบไฟล์วีดีโอ มาสร้างไฟล์ร่วมกันได้










จากนั้นเป็นการปรับแต่งไฟล์วีดีโอที่จะทำ


Effect : การใส่แอนนิเมชั่นให้รูปภาพและไฟล์วีดีโอ





ยังมีอีเฟคต่างๆ ให้เลือกตามที่ต้องการ





อีเฟคระหว่างไฟล์ เราสามารถจับลากให้สั้นยาวได้ตามต้องการ แต่จะต้องคอยปรับความยาวของภาพและไฟล์ด้วยตามลำดับ เนื่องจากอีเฟคเหล่านี้จะย่นความยาวของไฟล์โดยอัตโนมัติ เพื่อแทรกแอนนิเมชั่น

Tips :

เนื่องจากมีอีเฟคมากมายให้เลือก แต่มิใช่ว่าเราจะใช้ทั้งหมด เราสามารถเลือกเพียงแค่ไม่กี่อย่าง ที่เราชอบและใช้บ่อย ไว้ในหมวดที่ฉันชื่นชอบ เพื่อเรียกใช้ได้สะดวกขึ้น ด้วยการ Right Click --> Add to My Favorites





หลังจากเพิ่มอีเฟคหมดแล้ว ก็ปรับแต่งความยาวของแต่ละไฟล์ตามต้องการ




Title : การใส่ข้อความลงในวีดีโอ

เป็นการใส่ข้อความต่างๆ ลงบนหน้าจอวีดีโอ สำหรับยูหลีด11 สามารถใส่ภาษาจีนได้ แต่ยูหลีด10 ไม่แสดงผลภาษาจีน

แอนนิเมชั่นข้อความ ที่มากับตัวโปรแกรม ก็มีให้เลือกสรรมากมายอยู่แล้ว เราสามารถเลือกแอนนิเมชั่นที่เราต้องการ แล้วจับลากลงช่อง Text





Doubble Click ที่กล่องข้อความ เพื่อทำการแก้ไขปรับแต่งต่างๆ





ส่วนนี้คือการปรับตำแหน่งของกล่องข้อความ



ส่วนนี้คือการปรับแต่งฟอนต์ และอีเฟคต่างๆ ของข้อความ



ถัดไป คือการปรับแต่งแอนนิเมชั่นของกล่องข้อความ ในการแสดงผล
ติ๊กที่ Apply animation เพื่อให้แสดงผลแอนนิเมชั่นของกล่องข้อควา




ส่วนนี้คือการปรับแต่งเพิ่มเติม ของการแสดงผลแอนนิเมชั่น

ในการแก้ไขข้อความ ให้ Doubble Click ที่กล่องข้อความที่หน้าจอ จึงจะสามารถเปลี่ยนข้อความได้



เช่นกัน กล่องข้อความก็สามารถลากสั้นยาวได้ตามที่ต้องการ



Audio : การปรับแต่งไฟล์ออดิโอของวีดีโอ

เป็นการปรับแต่งต่างๆ ให้กับไฟล์เสียง เช่น ปรับเสียง หรืออีเฟคอื่นๆ เพิ่มเติม (สามารถค่อยๆ ศึกษาต่อภายหลัง)

คลิ้กที่ไฟล์ออดิโอ



ในส่วนนี้คือการปรับแต่ง ส่วนของการแยกลำโพงซ้ายขวานั้นเหมาะกับการสร้างวีดีโอ จากไฟล์วีดีโอที่มีการพากษ์เสียงมากกว่าหนึ่งภาษา หรือไฟล์คาราโอเกะ เราสามารถปรับตรงนี้เพื่อเลือกภาษาเดียว หรือเลือกแค่เสียงคาราโอเกะ



เมื่อเสร็จสิ้นการปรับแต่งเบื้องตน ก็ถึงลำดับของการสร้างไฟล์วีดีโอ คลิ้กที่ Share เพื่อสร้างไฟล์



เลือกรูปแบบไฟล์ที่ต้องการจะสร้าง ในกรณีของการสร้างไฟล์วีดีโอ สำหรับทำแผ่นวีซีดี แนะนำให้เลือก mpeg2 ซึ่งเป็นไฟล์ชนิดเดียวกันกับ mpeg1 แต่คุณภาพรูปภาพจะชัดกว่า mpeg1 หนึ่งเท่าตัว
หรือจะเลือกเป็น SVCD หรืออื่นๆ ก็ได้เช่นกัน



หลังจากนั้นก็ปล่อยให้โปรแกรมเรนเดอร์ไฟล์วีดีโอ (สร้างไฟล์วีดีโอ) ในระหว่างนี้ ไม่ควรเปิดโปรแกรมอื่นๆ มาใช้งาน เพื่อว่าจะได้ไฟล์ที่มีคุณภาพดีที่สุด



ลูกเล่นเพิ่มเติม !

การสร้างไฟล์วีดีโอ ยังสามารถเพิ่มฉากหลังให้กับวีดีโออีกด้วย ด้วยการแยกการแนบไฟล์ไว้สองบรรทัด โดยที่บรรทัดบนคือฉากหลัง บรรทัดล่างคือฉากหลัก
(ในการแนบไฟล์ภาพหรือวีดีโอ มันอาจจะอยู่บนบรรทัดบนหมด เพียงแค่จับลากมาไว้บรรทัดล่าง ก็สามารถแยกได้ จากนั้นก็ตามปรับลำดับภาพต่างๆ ตามที่ต้องการ



สำหรับฉากหลัง การเพิ่มอีเฟค จะเป็นดังเช่นด้านบนที่อธิบายไว้ แต่สำหรับฉากหลัก การเพิ่มแอนนิเมชั่นจะไม่เหมือนกัน
เริ่มแรกคือการปรับขนาดหน้าจอฉากหลัก ด้วยการคลิ้กที่หน้าต่างนั้นๆ แล้วลากขนาดตามที่ต้องการ



เมื่อปรับขนาดตามที่ต้องการแล้ว และปรับแต่งแอนนิเมชั่นอื่นๆ เสร็จสิ้นแล้ว และต้องการให้ไฟล์อื่นๆ มีขนาดเดียวกัน ให้ Right Click ที่ไฟล์นั้นๆ แล้วเลือก Copy Attributes
จากนั้นให้ Right Click ที่ไฟล์อื่นๆ แล้วเลือก Past Attribues เพื่อให้แสดงผลแอนนิเมชั่นอย่างเดียวกัน



ตรงส่วนนี้จะเป็นการปรับแอนนิเมชั่นของฉากหลัก ส่วนที่ติ๊กไว้ คือให้แสดงผลของการซูมรูปภาพ



เสร็จสิ้น ไฟล์วีดีโอที่ได้ ก็จะมีฉากหลังที่เราต้องการ ให้ดูเพลินตาอีกต่อหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น